วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558





วิปัสสนากัมมัฏฐาน
หลวงพ่อ ชา  สุภัทโท





วิธีปฏิบัติวิปัสสนา
หลวงพ่อจรัญ



วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีพ้นทุกข์


             
วิธีพ้นทุกข์ 
            เริ่มต้นจากการหยุดคิดถึงสิ่งร้าย ๆ ที่ทำให้เกิดทุกข์สักพักแล้วทำตาม 10 วิธีดังต่อไปนี้
     
       1. ให้คิดว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้เสมือนพายุฝนฟ้าคะนองที่โหมกระหน่ำ แต่อีกไม่นานพายุก็ต้องสงบลง วันที่ฟ้าใสยังรอคอยอยู่
     
       2. โทรศัพท์หาเพื่อนสนิท หรือศูนย์ฮอตไลน์ต่าง ๆ เพื่อพูดคุย เพื่อระบายความทุกข์ และความอัดอั้นตันใจออกมา อย่างน้อย ๆ พวกเขาเหล่านี้ก็เป็นผู้รับฟังที่ดี
     
       3. มองสิ่งที่ดี ๆ ในตัวเอง หลายคนเมื่อมีความทุกข์ จะลืมมองสิ่งดี ๆ ในตัวเอง
     
       4. มองว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนประสบการณ์หนึ่งที่จะทำให้ตัวเองเข้มแข็ง แข็งแกร่งขึ้น
     
       5. ขอให้เชื่อว่า ทุกปัญหา ทุกความทุกข์ที่เกิดขึ้นย่อมมีทางออกที่ดีเสมอ

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับของสงฆ์

                                                  
                     
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับของสงฆ์

ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับของสงฆ์
๑. สิ่งใดที่ได้มาก่อนบวช เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เรือกสวนไร่นา หรือเงินสด เป็นต้น  เป็นของที่ภิษุรูปนั้นจะทำอะไรก็ได้ตามปรารถนา
๒. สิ่งใดที่ได้มาระหว่างบวช แม้ว่าโยมจะถวายส่วนตัวก็ตาม  ก็ถือว่าเป็นของสงฆ์เช่นกัน  เพราะเป็นของที่ได้มาเพราะผ้าเหลือง  (ผ้ากาสาวพัตร์)  ถือว่าเป็นสมบัติของศาสนา  เมื่อสึกออกไปจะต้องคืนสงฆ์ทั้งหมด จะต้องนำของนั้นถวายวัดใดวัดหนึ่งที่เห็นสมควร
ของสงฆ์นั้นถือเป็นของสูง  เป็นของที่ผู้มีจิตศรัทธาทำบุญให้มา  ถ้าใครนำเอาไปทำมาหากินส่วนตัว  จะเป็นอาถรรพ์  จะประสบแต่ความวิบัติหาความเจริญมิได้
๓. ถ้าผู้ใดเอาของสงฆ์ไปใช้แล้วสำนึกได้ก่อนตาย  ให้รีบนำมาคืนสงฆ์หรือถ้าของนั้นชำรุดแล้ว  ก็ให้ชดใช้เป็นเงินแทน  เรียกว่า “ชำระหนี้สงฆ์”

กสิน ๑๐

กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ
การเพ่งกสิณนับว่าเป็นอุบายกรรมฐานกองต้น ๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่ออบรมจิต (อันเป็นแนวทางแห่งการบรรลุสำเร็จมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้) ซึ่งอุบายกรรมฐานมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกอง ภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้น จะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกองด้วยกัน
การเพ่งกสิณ คือ อาการที่เราเพ่ง (อารมณ์) ไม่ได้หมายถึงเพ่งมอง หรือจ้องมอง ไปยังวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น พระพุทธรูป เทียน สีต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ แล้วเรียนรู้ รับรู้/บันทึก สภาพหรือคุณสมบัติเฉพาะ ของวัตถุ (ธาตุ) หรือสิ่ง ๆ นั้นไว้เช่น เนื้อ สี สภาพผิว ความหนาแน่น ความ เย็นในจิตจนกระทั่งเมื่อหลับตาลงจะปรากฏภาพนิมิต (นิมิตกสิณ) ของวัตถุหรือสิ่ง ๆ นั้นขึ้นมาให้เห็นในจิต หรือแม้กระทั่งยามลืมตาก็ยังสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวเป็นภาพติดตา
                                                                         
การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัว กล่าวคือ การเพ่งกสิณเป็นเสมือนทางลัดที่จิตใช้ในการเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าการเลือกใช้อุบายกรรมฐานกองอื่น ๆ มากมายนัก ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายวิธีการเพ่งกสิณนั้น จิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องรู้ของจิต แทนอารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และเมื่อภาพนิมิตกสิณเริ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จิตก็จะรับเอาภาพนิมิตกสิณนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต
จากนั้นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวจะค่อย ๆ พัฒนาไปเองตามความละเอียดของจิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาพนิมิตกสิณนั้น เริ่มตั้งแต่ความคมชัดในการมองเห็นภาพนิมิตกสิณที่ปรากฏขึ้นภายในจิต และสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณนั้นได้อย่างชัดเจน ราวกับมองเห็นด้วยตาจริง ๆ ไปจนกระทั่งการที่จิตสามารถบังคับภาพนิมิตกสิณนั้นให้เลื่อนเข้า-เลื่อนออก หรือหมุนไปทางซ้าย-ทางขวา หรือยืด-หดภาพนิมิตกสิณดังกล่าวได้ อันเป็นพลังจิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งนิมิตกสิณ
แต่ในที่สุดแล้วภาพนิมิตกสิณทั้งหลายก็จะมาถึงจุดแห่งความเป็นอนัตตา อันได้แก่ ความว่างและแสงสว่าง กล่าวคือ ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นฌานต่อไปตามลำดับ[1]

                                                             

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรรม


กฎแห่งกรรม 
มีความหมายสำคัญอยู่สองคำ คือ "กฎ" และ "กรรม" 

คำว่า "กฎ" อาจจะเกี่ยวข้องกับข้อบังคับ กติกา ระเบียบ แบบแผน
คำว่า "กรรม" หมายถึงการกระทำ
กรรมดี ให้ผล คือความสุข กรรมชั่ว ให้ผลคือความทุกข์ หรืออย่างที่พูกว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว โดยทางศาสนาได้สอนให้คน ละความชั่ว ทำแต่ความดี ทุกคนย่อมต้องการความสุข เกลียด หลีกเลี่ยงความทุกข์ ศาสนาสอนว่า อะไรบ้างเป็นความชั่ว ให้ผลคือความทุกข์ อะไรบ้างเป็นความดี ให้ผลคือความสุขทั้งในปัจจุบัน อนาคต และโลกหน้า

สำหรับปัจจุบัน อนาคต พอจะมองเห็นและเข้าใจ แต่สำหรับโลกหน้านั้น คนที่มีศรัทธาในเรื่องกรรมน้อยหรือาจจะไม่เชื่อเลยว่า กรรมดีกรรมชั่วในชาตินี้จะให้ผลในชาติต่อไป พูดสั้นๆ คือการลืมชาติ

กฏแห่งกรรม หมายความว่า กรรมย่อมมีเหตุและมีผลคือ เหตุให้ทำกรรม และผลของกรรมทั้งชาตินี้และชาติหน้า ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว กรรมดีให้ผลเป็นสุข กรรมชั่วให้ผลเป็นทุกข์

หลักธรรม (กรรม)
คำทำดีได้ดี คนทำชั่วได้ชั่ว เหมือนหว่านพืชชนิดใด ย่อมได้รับผลชนิดนั้น

ดีชั่วให้ผลต่างกัน กรรมดีให้เกิดในที่ดี กรรมชั่วให้เกิดในที่เลย

ยาทิสัง วะปะเต พีชัง ตาทิสังละภะเต ผะลัง กัละยาณะการี กัละยาณัง ปาปะการี จะ ปาปะกัง

สว่างอื่นใดในอากาศ ไม่โอภาสเท่าสว่างตะวันฉาย
แสงสิ่งอื่นเข้มแข็งที่แรงร้าย ก็แพ้พ่ายแรงกรรมที่ทำไว้
(สุนทรภู่)


เวร เหมือนเงาติดเต้า ตามตน
กรรม ก่อกรรมกรรมดล ดัดดิ้ว
บัน ดาหมู่อกุศล สู่ทุค ติแฮ
ดาล บาปบาปติดติ้ว แต่งตั้งตามสนอง
(จินดามณี)

หลักฐานทางตำนาน เกี่ยวกับเรื่องผลของกรรมดี กรรมชั่ว ยังมีอีกมาก นำมากล่าวโดยละเอียดก็เป็นตำนานไป ที่ยกมาเป็นเพียงหลักฐานและตัวอย่างในเรื่องนี้ เรื่องของกรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซับซ้อน ผู้สนใจจะหาคำตอบที่ถูกต้อง ต้องใจเย็น อ่านไปคิดไป อย่าได้รีบตัดสินใจเอาง่ายๆ ว่าจริงหรือไม่จริง คนไม่เชื่อผลของกรรม คือคนยุคหิน สรุปผลเอาง่ายๆ ซึ่งทำให้ขาดทุน สูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่ชีวิต ยุคนี้เป็นยุคคอมพิวเตอร์ เชื่อไม่เชื่อต้องศึกษาก่อน อย่าได้ถือความชอบใจไม่ชอบใจตน

ท่านที่เชื่อกรรม ผลแห่งกรรมก็ต้องเป็นคนมีปัญญาด้วย เพราะเพียงว่าเชื่ออย่างเดียว อาจจะทำให้เห็นเป็น "งมงาย" ได้ เรามีเรื่องจริงมากมายที่เกิดขึ้น ขอให้เราได้ศึกษากันต่อไป พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมต่อชาว กาลามะ ที่เรียกว่า กาลามสูตร หรือบางคนก็เรียกว่า เกสปุตสูตร ซึ่งก็เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นชื่อของบ้านชื่อของตระกูล ก็เป็นเครื่องเตือนสติคนนับถือศาสนา ที่เป็นคนตาบอดคำช้างนั่นเอง

วิสุทธิ 7


                                                                         วิสุทธิ 7

              หมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการทำให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ

              ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษา ทำให้สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึง ปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งหมายถึง ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่
1. ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกข
าบท (คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง)
2. อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์6 ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้ ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
3. อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
4. ปัจจัยสันนิสิตศีล หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย
จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ การฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิ ให้ได้อุปจาระสมาธิและอัปปนาสมาธิ ได้ฌาน ได้อภิญญาสมาบัติ อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิดวิปัสสนาขึ้นได้ง่าย ยิ่งสมาธิดีเท่าใดยิ่งบรรลุได้ง่ายเท่านั้น.
ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง จิตรับรู้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้

มรรค 8


                                                              มรรค 
มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง
             แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิต หรือ กาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอจนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
             คำว่า มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระ หลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว
มรรคมีองค์แปด คือ :-
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง
การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

อริยสัจ4

   

อริยสัจ 4

 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้